วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์

  ความหมายและความสำคัญของเศรษฐศาสตร์
                        ความหมายของเศรษฐศาสตร์
                                เศรษฐศาสตร์ หมายถึง วิชาหนึ่งสาขาหนึ่งในสังคมศาสตร์ ที่ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดโดยการจัดสรรทรัพยากรได้อย่างเสมอภาคและเป็นธรรมและเป็นที่พึงพอใจ
                                ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์
                                เศรษฐศาสตร์ เป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับพฤติกรรมของคนในสังคมกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วยการผลิต การกระจายผลิต และผู้บริโภค เศรษฐศาสตร์จึงมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกชนิด โดยเฉพาะเรื่องการตัดสินใจเกี่ยวกับการผลิต การบริโภค และการซื้อ ขาย การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ
                                เศรษฐศาสตร์จึงเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราทุกคน ทุกระดับ ตั้งแต่ประชาชนทั่วไปถึงระดับประเทศ เศรษฐศาสตร์เข้าไปมีบทบาทในด้านการใช้ทรัพยากรของประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด ให้ประชาชนกินดีอยู่ดี ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ
                                แต่เนื่องจากทรัพยากรต่าง ๆ ในโลกมีจำกัดเมื่อเปรียบเทียบกับความต้องการมนุษย์ซึ่งมีไม่จำกัด จึงทำให้เกิดการขาดแคลนขึ้น ในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์จึงต้องตัดสินใจเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ในกระบวนการตัดสินใจเลือกจึงนำความรู้เชิงเศรษฐศาสตร์เข้ามาช่วยให้การตัดสินใจแต่ละครั้งให้เกิดประโยชน์สูงสุด
                                นอกจากนั้นการที่คนแต่ละคนเข้าใจเศรษฐศาสตร์ สามารถเข้าใจเหตุการณ์และระเบียบ กฎเกณฑ์บางอย่างที่ตนเองต้องมีส่วนในการให้และรับผลร่วมกัน เช่น การเสียภาษีกับการได้ประโยชน์ตอบแทนจากการเสียภาษีไป เป็นต้น
                   1.2    หลักการและวิธีการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด
                        เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่พยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ได้แก่ ปัญหาว่าทำไม่จึงผลิต จะผลิตอะไร ผลิตอย่างไร และผลิตเพื่อใคร รวมทั้งยังช่วยแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้น เพื่อให้ประเทศสามารถบริหารจัดการทรัพยากรให้สัมฤทธิผลและมีประสิทธิภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ด้านเศรษฐกิจคือ
                                1.  ความมีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ หมายถึง การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ได้แก่ ที่ดิน แรงงาน และอื่น ๆ ทำการผลิตโดยได้รับผลผลิตสูงสุด
                                2.    การจ้างงานเต็มที่ หมายถึง การที่คนงานทุกคนที่สมัครใจทำงาน มีงานทำ และเป็นการทำงานเต็มความสามารถของแต่ละคน
                                3.     ความมีเสถียรภาพของระดับราคาสินค้าและบริการ หมายถึง การที่ระดับราคาสินค้าและบริการมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยและไม่เปลี่ยนแปลงบ่อย เพราะจะทำให้ผู้บริโภคเดือดร้อนและผู้ผลิตจะไม่สามารถคาดการณ์ภาวะทางธุรกิจได้อย่างถูกต้อง
                                4.    ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ   หมายถึง   การที่ผลผลิตของประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างสม่ำเสมอ

โครงสร้างเเละปัญหาเศรษฐกิจ

 ลกษณะโครงสร้างเศรษฐกิจไทยได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมาก ตามแนวทางของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือเสรีที่เน้นเรื่องความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก การเร่งผลิตทำให้ต้องพึ่งพาการส่งออก นำเข้า และการเงินระหว่างประเทศ เกิดการใช้ปัจจัยการผลิตและทรัพยากรธรรมชาติอย่างไร้ประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดปัญหาการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่สมดุลและยั่งยืนตามมา เกิดปัญหาการขาดแคลนเงินทุน แรงงานไร้ทักษะและฝีมือ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม ขาดการวิจัยและพัฒนาเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการผลิต ฯลฯ รัฐบาลจึงต้องกำหนดยุทธศาสตร์ นโยบาย และมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจโดยรีบด่วนก่อนที่จะเป็นปัญหาเรื้อรังจนแก้ไขไม่ได้
          ระบบเศรษฐกิจของไทยได้เน้นการเจริญเติบโตและการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นหลักทำให้ต้องพึ่งพาการส่งออก นำเข้า และการเงินระหว่างประเทศ เพื่อเร่งการลงทุนและการผลิตในประเทศ และใช้ปัจจัยการผลิตและทรัพยากรธรรมชาติอย่างไร้ประสิทธิภาพ โดยไม่มีการผลิตทดแทนทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนตามมา ถึงแม้ไทยจะประสบผลสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับหนึ่ง แต่ก็ประสบปัญหาการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม ปัญหาความยากจนของประชาชนที่ไม่ได้รับส่วนแบ่งในผลประโยชน์ของการพัฒนา ในระดับรัฐบาลจึงต้องเข้ามาหาแนวทางแก้ไขปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจแบบสมดุลและยั่งยืนในระยะยาว 

การพัฒนาเศรษฐกิจ

    การพัฒนาเศรษฐกิจ  เป็นกระบวนการที่ทำให้รายได้ต่อบุคคลที่แท้จริง ของคนในประเทศเพิ่มขึ้นในระยะยาว โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์มากที่สุด  
          ประเทศต่าง ๆ จำเป็นต้องพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ เพื่อการยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชนให้สูงขึ้น การวัดว่าประเทศมีการพัฒนาเศรษฐกิจอยู่ในระดับใดขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งเครื่องมือสำคัญ คือ รายได้ต่อบุคคล และหลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่เศรษฐกิจ ซึ่งค่าใช้จ่าย หรือรายได้ต่อบุคคลเป็นเครื่องวัดฐานะทางเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถแบ่งประเทศต่าง ๆ ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ประเทศด้อยพัฒนา ประเทศกึ่งพัฒนา และประเทศพัฒนาแล้ว
          ประเทศด้อยพัฒนา  มีลักษณะสำคัญคือ ระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชนต่ำ ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม อัตราเกิดสูง มีคนว่างงานมาก การออมมีน้อย ขาดแคลนทุน ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ และต้องพึ่งพาอาศัยต่างประเทศมาก
          ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ  ขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐาน 4 ประการ ได้แก่ ปริมาณและคุณภาพของประชากร ปริมาณทรัพยากรธรรมชาติ การสะสมทุน และความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
          แผนพัฒนาเศรษฐกิจของไทย  ประเทศไทยได้เริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2504 โดยแผนพัฒนาฯ แต่ละฉบับ มีจุดเน้นแต่ละแผนดังนี้
          แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1     เน้นการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานทาง  เศรษฐกิจ
          แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 2     เน้นการพัฒนาสังคมควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ
          แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3     เน้นความร่วมมือของราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น และเปิดโอกาสให้เอกชนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น
          แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4     เน้นความปลอดภัยมั่นคง
 
          แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5     เน้นในเรื่องการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาความยากจนในชนบท
          แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6     เน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพื่อแก้ปัญหาดุลการค้า การคลังและการว่างงาน ตลอดจนความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ และการตกต่ำทางฐานะของเกษตรกร
          แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7     เน้นการกระจายรายได้ และการกระจายการพัฒนาไปสู่ภูมิภาคและชนบทให้กว้างขวางยิ่งขึ้น รวมทั้งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
          แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8     เน้นการพัฒนาศักยภาพของคน
          แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9     ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทาง
 

ดุลการค้าเเละดุลการชำระเงิน

  ประเทส่วนใหญ่ในโลกนี้จำเป็นจะต้องมีการติดต่อสัมพันธ์กัน โดยเฉพาะการติดต่อสัมพันธ์กันทางเศรษฐกิจทั้งด้านการค้า การลงทุน การคมนาคมขนส่ง การท่องเที่ยว และการส่งคนงานไปทำงานในต่างประเทศ การติดต่อกันดังกล่าวจะทำให้มีเงินตราไหลเข้าและไหลออกนอกประเทศ ทำให้เกิดการขาดดุล-เกินดุลการค้า ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบของมูลค่าส่งออกและมูลค่านำเข้าสินค้า ดุลบัญชีเดินสะพัดซึ่งเป็นการเปรียบเทียบมูลค่าส่งออก-นำเข้า หรือดุลการค้าและดุลบริการ ซึ่งเป็นรายได้จากการท่องเที่ยว การประกันภัย และการขนส่งระหว่างประเทศ เพื่อรวมทั้งสองส่วนกับเงินโอน เงินบริจาค เงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ และเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ก็จะเป็นรายการของดุลการชำระเงิน ซึ่งหมายถึง รายรับจากต่างประเทศทั้งหมด โดยทั่วไปประเทศกำลังพัฒนามักขาดดุลการค้าประเทศที่พัฒนาแล้ว เนื่องจากมูลค่าการส่งออกสินค้าของประเทศกำลังพัฒนาซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าขั้นปฐมพวกแร่ธาตุและผลผลิตการเกษตร และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีง่าย ๆ มีมูลค่าต่ำกว่าสินค้านำเข้าจากประเทศพัฒนาแล้วที่มักจะเป็นสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสูงกว่า อย่างไรก็ตาม ประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศอาจมีดุลการชำระเงินเกินดุล เพราะมีการลงทุนหรือมีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเข้ามามาก สำหรับประเทศไทยตกอยู่ในภาวะขาดดุลการค้า ดุลการชำระเงินมานาน จนกระทั่งหลังวิกฤตการณ์เศรษฐกิจประเทศไทยก็เริ่มเกินดุลการค้าและดุลการชำระเงินแนวทางที่นิยมใช้ในการแก้ไขการขาดดุลการค้าและการขาดดุลชำระเงินได้แก่ การลดค่าเงิน การตั้งกำแพงภาษี การกีดกันการค้ารูปแบบต่าง ๆ การส่งเสริมการส่งออก และการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ   

วัฎจักรเศรษฐกิจ

     วัจักรเศรษฐกิจ  หมายถึง การเปลี่ยนแปลงขึ้นลง ซ้ำ ๆ กันของเศรษฐกิจ ซึ่งมี 4 ระยะ คือ ระยะรุ่งเรือง  ระยะถดถอย  ระยะตกต่ำ  และระยะฟื้นตัว  ในแต่ละระยะมีเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน  ในแต่ละระยะไม่จำเป็นต้องใช้เวลาเท่ากันเสมอไป และอาจใช้เวลาในแต่ละช่วงอยู่ระหว่าง 2 - 5 ปี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงในภาวะเศรษฐกิจ 
          สาเหตุการเกิดวัฏจักรเศรษฐกิจ  เกิดากสาเหตุภายนอกระบบเศรษฐกิจ และสาเหตุภายในระบบเศรษฐกิจ จึงไม่สามารถบังคับไม่ให้เกิดวัฏจักรเศรษฐกิจได้ แต่เมื่อเกิดวัฏจักรเศรษฐกิจในระยะที่ไม่พึงปรารถนาแล้ว ก็สามารถป้องกันและแก้ไขได้โดยใช้นโยบายการเงิน และนโยบายการคลัง เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจไว้
 

เงินเฟ้อเเละเงินฟืด

    เงินเฟ้อ หมายถึง ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่ว ๆ ไป โดยเฉลี่ยสูงขึ้นเรื่อย ๆ  สาเหตุองเงินเฟ้อ มี 2 ประการ คือ เกิดจากอุปสงค์ตึง และเกิดจากต้นทุนผลัก เมื่อเกิดเงินเฟ้อจะมีผลกระทบต่อการกระจายรายได้ ความต้องการถือเงิน การสะสมทุน การคลังของรัฐบาล และการค้าระหว่างประเทศ การแก้ไขเงินเฟ้อ ทำได้โดยลดอุปสงค์มวลรวมลง            เงินฝืด  หมายถึง  ภาวะที่ระดับราคาสินค้าละบริการทั่ว ๆ ไป ลดลงเรื่อย ๆ  เงินฝืดเกิดขึ้นเนื่องจากอุปสงค์มวลรวมลดลง เงินฝืดจะทำให้การลงทุนลดลง การจ้างงานลดลง และการว่างงานจะมากขึ้น  การแก้ไขปัญหาเงินฝืด ทำได้โดยกระตุ้นให้อุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้น
           ภาวะเงินเฟ้อและเงินฝืด   สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศด้อยพัฒนา ประเทศพัฒนา หรือประเทศอุตสาหกรรม ถ้าเป็นภาวะเงินเฟ้อและเงินฝืดอย่างอ่อน ๆ ย่อมเกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ แต่ถ้าเกิดภาวะเงินเฟ้อและเงินฝืดอย่างปานกลางและอย่างรุนแรงแล้ว ย่อมสร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจอย่างมากต่อประเทศชาติ  การแก้ไขไม่สามารถกระทำให้สำเร็จลุล่วงในระยะเวลาอันสั้น นอกจากใช้นโยบายทางการเงินและการคลังแล้ว ประชาชนในประเทศจะต้องร่วมมือด้วย เพราะประเทศชาติเป็นเรื่องของคนเป็นจำนวนมาก ไม่เหมือนกับระบบครอบครัว ซึ่งแก้ไขได้รวดเร็วกว่า

รายได้ประชาชาติ

   รายได้ประชาชาติ  หมายถึง มูลค่าเป็นตัวเงินของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย ตามราคาตลาดที่ผลิตขึ้นด้วยทรัพยากรของประเทศ ในระยะเวลา 1 ปี
          รายได้ประชาชาติ คำนวณได้ 3 วิธี คือ
               1.  การคำนวณจากด้านผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นการรวมมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ประเทศผลิตขึ้น ในระยะเวลา 1 ปี
               2.  การคำนวณจากด้านรายได้ เป็นการรวมรายได้ทุกประเภทที่เจ้าของปัจจัยการผลิตได้รับจากการขายปัจจัยให้แก่ ผู้ผลิต
               3.  การคำนวณจากด้านรายจ่าย เป็นการคำนวณโดยการนำรายจ่ายของประชาชนในการซื้อสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายรวมกัน ในระยะเวลา 1 ปี
          ตัวเลขรายได้ประชาชาติ  มีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับการศึกษาสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศ  การกำหนดนโยบายเศรษฐกิจ  การเงิน  และการคลังของประเทศ ขณะเดียวกัน ก็มีข้อจำกัดในการใช้ตัวเลขรายได้ประชาชาติ และเป็นเครื่องวัดประสิทธิภาพในการผลิตของประเทศ และสวัสดิการทางเศรษฐกิจ